แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547(ฉ.2)พ.ศ. 2551(ฉ.3)

แนวข้อสอบ

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 (ฉ.2)พ.ศ. 2551(ฉ.3)

พ.ศ. 2553
…………………………………


1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ยกเลิกพระราชบัญญัติใด
ก. พระราชบัญญัติครู พ.ศ. 2488
ข. พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2523
ค. พระราชบัญญัติคณะกรรมการการประถมศึกษา พ.ศ. 2523
ง. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523


2. คำว่า วิชาชีพ ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ครู ข. ผู้บริหาร
ค. บุคลากรทางการศึกษา ง. ถูกทุกข้อ


3. กรรมการผู้แทนข้าราชการครูในคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนมาแล้วจำนวนกี่ปี
ก. ไม่น้อยกกว่า 5 ปี ข. ไม่น้อยกกว่า 10 ปี
ค. ไม่น้อยกกว่า 15 ปี ง. ไม่น้อยกกว่า 20 ปี


4. คุณสมบัติข้อใดที่กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีเหมือนกันทุกคน
ก. ใบประกอบวิชาชีพ ข. ประสบการณ์การปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 15 ปี
ค. มีความเหมาะสม ง. มีความซื่อสัตย์


5. ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. 3 ประเภท ข. 4 ประเภท
ค. 5 ประเภท ง. 6 ประเภท


6.ตำแหน่งผู้สอนในหน่วยงานการศึกษาใดไม่ถูกต้อง
ก. ผู้สอน ข. คณาจารย์
ค. อาจารย์ ง. ศาสตราจารย์


7. ตำแหน่งวิทยฐานะข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
ก. วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ
ข. วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญพิเศษ
ค. วิทยฐานะรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญพิเศษ
ง. วิทยฐานะศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ



8. ข้อใดไม่ใช่ตำแหน่งทางวิชาการ
ก. อาจารย์ ข. คณาจารย์
ค. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ง. รองศาสตราจารย์


9. ตำแหน่งตามมาตรา ม.38ก(1) ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 คือตำแหน่งในข้อใด
ก. ครูผู้ช่วย ข. ครู
ค. ผู้อำนวยการสถานศึกษา ง. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา


10. ข้อใดคือตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น
ก. ครูผู้ช่วย ข. ผู้บริหารสถานศึกษา
ค. รองอธิการบดี ง. ศึกษานิเทศก์


11. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุการออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก. ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ข. ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ค. ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ง. พ้นจากราชการตามกฎหมาย


12. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประสงค์จะลาออกจากราชการต้องยื่นหนังสือต่อใคร
ก. ผู้อำนวยการโรงเรียน ข. ผู้บังคับบัญชา
ค. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ง. ผู้มีอำนาจตาม ม. 53


13. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของผู้สมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก. คุณสมบัติตาม ม.30 ข. คุณสมบัติตาม ม.42
ค. คุณสมบัติตาม ม.45 ง. คุณสมบัติตาม ม.50


14.วินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีกี่ข้อ
ก. 12 ข้อ ข. 13 ข้อ

ค. 14 ข้อ ง. 15 ข้อ


15. อนุกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน อ.ก.ค.ศ. ได้มาโดยวิธีใด
ก. การเลือกตั้ง ข. การคัดเลือก
ค. การสรรหา ง. ก.ค.ศ. กำหนด


16. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
ก. พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์
ข. ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา
ค. พิจารณาให้ความเห็นชอบการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ง. จัดทำทะเบียนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขนพื้นที่การศึกษา

17. ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
ก. ทักษิณ ชิณวัตร ข. วิษณุ เครืองาม
ค. ชวน หลีกภัย ง. สุรยุทธ จุลานนท์


18. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจจะดำเนินการตามข้อใด
ก. ร้องเรียนต่อ อ.ก.ค.ศ. ข. ร้องทุกข์ ต่อ อ.ก.ค.ศ.
ค. อุทธรณ์ ต่อ อ.ก.ค.ศ. ง. ถูกทุกข้อ


19. ใครเป็นผู้เสนอปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบัญชีเงินเดือน เงินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรณีค่าครองชีพมีการเปลี่ยนไป
ก. คณะรัฐมนตรี ข. กระทรวงศึกษาธิการ
ค. รัฐมนตรี ง. กคศ.


20. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วยจะได้รับเงินเดือนตามข้อใด
ก. 7260 บาท ข. 7610 บาท
ค. 7960 บาท ง. ผิดทุกข้อ


21. ข้อใดบ้างต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
. ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียน - . ผอ.สพท.
. เลขาธิการ กพฐ. . ข้อ ก และ ข


22. บุคคลต่อไปนี้ไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
. อาจารย์มหาวิทยาลัย . วิทยากรพิเศษสอนเป็นครั้งคราว
. ผู้จัดการศึกษาตามอัธยาศัย . ถูกทุกข้อ


23. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มีผลบังคับใช้เมื่อใด
. 24 ธันวาคม 2547 . 23 ธันวาคม 2547
. 25 ธันวาคม 2547 . 30 ธันวาคม 2547



24. คณะกรรมการ "ก.ค.ศ." ตาม พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มีคณะกรรมการกี่คน
. 15 คน . 17 คน
. 19 คน . 21 คน



25. ตามประกาศพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งหมดกี่เขต
. 295 เขต . 175 เขต
. 76 เขต . 325 เขต


26. ผู้ที่ขอรับใบประกอบวิชาชีพ จะต้องมีคุณสมบัติตามข้อใดบ้าง ตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
1. อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์
2. เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่โดนเคยลงโทษทางวินัย
3. ผ่านการสอนไม่น้อยกว่า 1 ปี
4. วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า
. 1,4,3 . 2,3,4
. 2,1,4 . ถูกทุกข้อ


27. สมาชิกคุรุสภามีกี่ประเภท
. 1 ประเภท . 2 ประเภท

. 3 ประเภท . 4 ประเภท


28. หน้าที่หลักคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพคือข้อใด ตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา

. จัดสวัสดิการให้ครู . พัฒนาวิชาชีพครูให้มีความเป็นเลิศ
. กำกับ ดูแลจรรยาบรรณวิชาชีพครู . ข้อ ข และ ค


29. คณะกรรมการคุรุสภา มีทั้งหมดกี่คน
. 38 คน - . 39 คน
. 40 คน . 41 คน


30. ข้อใดไม่มีฐานะเป็นกรม ในกระทรวงศึกษาธิการ
. สนง.สพฐ. . สนง.รัฐมนตรี
. สนง.สภาการศึกษา . สนง.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ


31. คณะกรรมการชุดใด ในกระทรวงศึกษาธิการที่มีหน้าที่เห็นชอบกฎหมายในกระทรวง
. คณะกรรมการกระทรวง . สภาการศึกษา
. คณะกรรมการ สพฐ. . คณะกรรมการอุดมศึกษา


32. ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือใคร
. ผู้ทรงคุณวุฒิ . คณะกรรมการที่ได้รับการคัดเลือก
. ประธาน อบต. ผู้บริหารสถนศึกษา


33. "อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา" หมายถึง
. อนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา
. อนุกรรมการครูและบุคลากรเขตพื้นที่การศึกษา
. อนุกรรมการครูเขตพื้นที่การศึกษา
. อนุกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา



34. เด็กตามการศึกษาภาคบังคับ หมายถึง เด็กที่มีอายุเท่าไร
. ย่างเข้าปีที่เจ็ดถึงย่างเข้าปีที่สิบหก . ย่างเข้าปีที่แปดถึงปีที่สิบหก
. ย่างเข้าปีที่แปดถึงปีที่สิบห้า . ย่างเข้าปีที่เจ็ดถึงปีที่สิบห้า


35. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
. ผอ.สพท.สั่งบรรจุครูผู้ช่วย . อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่เป็นผู้ดำเนินการสอบ
. บรรจุข้าราชการครูเริ่มต้น ตำแหน่งครู . ผอ.สถานศึกษาไม่มีอำนาจสั่งบรรจุครู


36. ผู้พิจารณาเสนอความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา คือข้อใด
. คณะกรรมการสถานศึกษา . ผู้บริหารสถานศึกษา
. อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา . ผอ.สพท.


37. ผู้ให้ความเห็นชอบ ในการพิจารณาความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ
. คณะกรรมการสถานศึกษา . คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
. อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา . ผอ.สพท.


38. มาตรา ๒๙ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้เป็นไปตามหลักการข้อใด
. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
. ยึดระบบคุณธรรม
. ความเสมอภาคระหว่างบุคคล คุ้มครองสิทธิอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
. ถูกทุกข้อ


39. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
. กำกับดูแลการบริหารงานบุคคล . เสนอความต้องการอัตรากำลังข้าราชการครู
. เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงาน . เสนอความดีความชอบต่อ ผอ.สถานศึกษา

แนวข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

แนวข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร


กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546


..........................................


1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด


ก. 7 ตุลาคม 2546


ข. 8 ตุลาคม 2546


ค. 9 ตุลาคม 2546


ง. 10 ตุลาคม 2546


จ. 11 ตุลามคม 2546


2. ข้อใดมิใช่ส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546


ก. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


ข. กระทรวง


ค. จังหวัด


ง. หน่วยงานอื่นที่รัฐอยู่ในกำกับของฝ่ายบริหาร


จ. ข้อ ก. และข้อ ค.


3. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการ เพื่อบรรลุเป้าหมายต่อไปนี้ ข้อใดมิใช่


ก. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ


ข. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น


ค. มีการปรับปรุงภารกิจส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์


ง. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ


จ. ทุกข้อคือเป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี


4. ข้อใดต่อไปนี้มิใช่วัตถุประสงค์ของการบริหารราชการเพื่อประโยชน์ของประชาชน


ก. การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุก


ข. การปฏิบัติราชการเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน


ค. การปฏิบัติราชการเพื่อความสงบ และปลอดภัยของประชาชนส่วนรวม


ง. การปฏิบัติราชการเพื่อประโยชน์สุขของประเทศ


5. ข้อใดมิใช่แนวทางการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน


ก. ต้อเป็นไปโดยซื่อสัตย์ สุจริต สามารถตรวจสอบได้


ข. ก่อนเริ่มดำเนินการส่วนราชการจะต้องให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดี ผลเสียให้ครบทุกด้าน


ค. ข้าราชการจะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้ให้บริการ


ง. ในกรณีที่เกิดปัญหา และอุปสรรคจากการดำเนินการให้ส่วนราชการแก้ไขปัญหาอุปสรรคนั้นโดยเร็ว


จ. เป็นแนวทางหมดทุกข้อ


6. ข้อใดมิใช่แนวทางบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ


ก. การจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า


ข. การปฏิบัติราชการแบบบูรณาการร่วมกัน


ค. การให้ส่วนราชการมีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัด


ง. การบริหารราชการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง


จ. การพัฒนาส่วนราชการให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้


7. หน่วยงานใดต่อไปนี้มีหน้าที่ร่วมกันจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินเสนอต่อคณะรัฐมนตรี


ก. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี


ข. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี


ค. สำนักงาน ก.พ.ร.


ง. สำนักงานงบประมาณ


จ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


8. เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินต้อง เสนอแผนให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในกี่วัน


ก. 30 วัน


ข. 45 วัน


ค. 60 วัน


ง. 90 วัน


จ. 120. วัน


9. การบริหารราชการแผ่นดินไม่ผูกพันธ์กับองค์กรใดต่อไปนี้


ก. กรุงเทพมหานคร


ข. คณะรัฐมนตรี


ค. รัฐมนตรี


ง. กระทรวง


จ. ผูกพันทุกข้อที่กล่าวมา


10. ข้อใดมิใช่สาระสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการ


ก. มีการกำหนดเป้าหมาย


ข. มีการกำหนดผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนราชการและบุคคลที่รับผิดชอบภารกิจ


ค. กำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน


ง. มีการประมาณรายได้และรายจ่าย และทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องใช้


จ. กำหนดระยะเวลาดำเนินงานและการประเมินผล






11. หน่วยงานใดต่อไปนี้มีหน้าที่จัดทำแผนนิติบัญญัติ


ก. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี


ข. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา


ค. สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี


ง. ข้อ ก. และข้อ ข.


จ. ข้อ ข. และข้อ ค.


12. การจัดทำแผนปฏิบัติราชการจะต้องนำแนวนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้ สอดคล้องกับ .....?


ก. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ


ข. แผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


ค. แนวพระราชบัญญัติองค์พระมหากษัตริย์


ง. ก และ ข


จ. ก ข และ ค


13. สำนักงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณให้แก่ส่วนราชการก็ต่อเมื่อแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของส่วน ราชการได้รับความเห็นชอบจาก.....?


ก. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


ข. คณะรัฐมนตรี


ค. รัฐสภา


ง. รัฐมนตรีเจ้าสังกัด


จ. ก.พ.ร.


14. เมื่อสิ้นปีงบประมาณส่วนราชการจะต้องทำรายงานใดเสนอแก่คณะรัฐมนตรี


ก. รายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปี


ข. รายงานการใช้จ่ายงบประมาณ


ค. รายงานประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี


ง. รายงานตัวชี้วัดแห่งความสำเร็จ


จ. รายงานปัญหาและอุปสรรคตลอดถึงแนวการแก้ไขตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี



15. การโอนงบประมาณจากภารกิจหนึ่งตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติราชการไปดำเนินการอย่างอื่น ซึ่งมีผลทำให้ ภารกิจเดิมไม่บรรลุเป้าหมายหรือนำไปใช้ในภารกิจใหม่ที่มิได้กำหนดในแผนปฏิบัติราชการจะกระทำได้ หรือไม่


ก. ไม่สามารถกระทำได้


ข. สามารถกระทำได้โดยอนุมัติรัฐมนตรีเจ้าสังกัด


ค. สามารถกระทำได้โดยการอนุมัติ ก.พ.ร.


ง. สามารถกระทำได้โดยอนุมัติ ก.พ.ร


จ. สามารถกระทำได้โดยอนุมัติรองปลัดกระทรวง หัวหน้ากลุ่มภารกิจ หรือปลัดกระทรวงแล้วแต่กรณี


16. การปรับแผนปฏิบัติราชการมีผลให้โอนงบประมาณจากภารกิจหนึ่งไปดำเนินการอย่างอื่นซึ่งมีผลทำให้ภาร เดิมไม่บรรลุเป้าหมายจะทำได้เฉพาะกรณีที่... ?


ก. ภารกิจนั้นไม่อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์ต่อไปได้


ข. ภารกิจนั้นหมดความจำเป็นหรือไม่เป็นประโยชน์หรือหากดำเนินการต่อไปจะต้องเสียค่าใชจ่ายเกินความ จำเป็น


ค. มีความจำเป็นอย่างอื่นมิอาจหลีกเลี่ยงได้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของแผนปฏิบัติ


ง. ข และ ค


จ. ก ข และ ค


17. การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนราชการต้อง.........?


ก. กำหนดเป้าหมายการปฏิบัติราชการ


ข. มีแผนการทำงาน


ค. กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของโครงการและงบประมาณที่ต้องใช้ในแต่ละโครงการ และต้องดผยแพร่ให้ ข้าราชการและประชาชนทราบ


ง. ก และ ค


จ. ก ข และ ค


18. การจัดบัญชีต้นทุน ในการบริการสาธารณะ แต่ละประเภทเป็นไปเพื่อ


ก. ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ


ข. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ


ค. การประเมินผลการปฏิบัติราชการ


ง. ข และ ค


จ. ก ข และ ค


19. การจัดทำบัญชีต้นทุนในการบริการสาธารณะ ต้อจัดทำตามหลักเกณฑ์หนือหน่วยงานใดกำหนด


ก. สำนักงบประมาณ


ข. สำนักงาน ก.พ.ร.


ค. กระทรวงการคลัง


ง. กรมบัญชีกลาง


จ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


20. เมาส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่มีอยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการ แล้วเสร็จต้องรายงานให้หน่วยงานใดทราบ


ก. สำนักงบประมาณ


ข. กรมบัญชีกลาง


ค. ก.พ.ร.


ง. ก และ ข


จ. ก ข และค



21. หน่วยงานใดมีหน้าที่ประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการได้ดำเนินการ


ก. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


ข. สำนักงบประมาณ


ค. สำนักงาน ก.พ.ร.


ง. ก และ ข


ก ข และ ค


22. ในการประเมินความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐให้คำนึง


ก. ประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจ


ข. ความเป็นไปได้ของภารกิจหรืองานโครงการที่ได้ดำเนินการ


ค. ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนพึงจะได้รับและจ่ายที่ต้องเสียไปก่อนและหลังที่ส่วนราชการได้ ดำเนินการ


ง. ข และ ค


จ. ก ข และ ค


23. การจัดซื้อจัดจ้างต้องดำเนินการโดย


ก. การจัดซื้อจัดจ้างมีวัตถุประสงค์ในการใช้ที่ต้องคำนึงถึงคุณภาพและการดูแลรักษาเป็นสำคัญ


ข. การจัดซื้อจัดจ้างเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์


ค. การจัดซื้อจัดจ้างนวัตกรรมใหม่ที่มีผู้ผลิตน้อยราย


ง. การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าตามบัญชีมาตรฐานอุตสาหกรรม


จ. การจัดซื้อจัดจ้างที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์และผลเสียทางสังคม


24. การจัดซื้อจัดจ้างต้องดำเนินการโดย


ก. เปิดเผยและเที่ยงธรรม


ข. พิจารณาถึงประโยชน์ และผลเสียทางสังคม ภาระต่อประชาชน คุณภาพ และวัตถุประสงค์ที่จะใช้


ค. พิจารณาถึงราคาประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการที่ได้รับประกอบกัน


ง. ก และ ค


จ. ก ข และ ค


25. ในการปฏิบัติภารกิจใด หากส่วนราชการจำเป็นต้องได้รับอนุมัติ อนุญาต หรือขอความเห็นจากส่วนราชการ อื่น ส่วนราชการที่มีอำนาจพิจารณา ต้องแจ้งผลการพิจารณาให้ส่วนราชการที่ยื่นคำขอ ทราบภายในกี่วัน


ก. 7วัน


ข. 15 วัน หรือตามที่ส่วนราชการที่มีอำนาจประกาศกำหนด


ค. 30 วัน และสามารถขยายได้อีก 30 วัน หรือตามที่กฎหมายเฉพาะกำหนด


ง. 30 วัน และสามารถขยายได้อีก 30 วัน หรือตามที่กฎหมายเฉพาะกำหนด


จ. 16 วัน และสามารถขยายได้ไม่เกิน 30 วัน หรือตามที่กฎหมายกำหนด



26. ข้อใดมิใช่หลักในการวินิจฉัยปัญหาของส่วนราชการในรูปแบบของคณะกรรมการตามพระราชกฤษฎีกาว่า ด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546


ก. การตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาให้ดำเนินการได้เท่าที่จำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้


ข. เมื่อคณะกรรมการมีมติเป็นประการใดแล้วให้มติของคณะกรรมการผูกพันส่วนราชการ ซึ่งมีผู้แทนร่วม เป็นกรรมการอยู่ด้วยแม้ว่าผู้แทนส่วนราชการที่เป็นกรรมการจะมิได้เข้าร่วมการพิจารณาวินิจฉัยก็ตาม


ค. มติของคณะกรรมการผูกพันกับส่วนราชการที่มีตัวแทนเป็นกรรมการ ยกเว้นการวินิจฉัยในด้านปัญหากฎหมาย


ง. ถ้ามีความแตกต่างกันสองฝ่ายให้บันทึกเหตุผลกรรมการฝ่ายข้างน้อย ไว้ให้ปรากฏเรื่องนั้นด้วย


จ. ทุกข้อเป็นหลักในการวินิจฉัยปัญหาในรูปและคณะกรรมการ


27. ข้อใด มิได้เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ


ก. การจัดทำบัญชีต้นทุนในการบริการสาธารณะ


ข. การกำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จของภารกิจ


ค. การกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาในการจัดซื้อจัดจ้าง


ง. การสั่งราชการโดยปกติให้ทำโดยลายลักษณ์อักษร


จ. ข และ ง


28. การกระจายอำนาจ การตัดสินใจมุ่งผลให้เกิดในเรื่องใด


ก. ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ


ข. ลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ


ค. ความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน


ง. ข และ ค


จ. ก ข และ ค


29. ส่วนราชการจะต้องจัดทำแผนภูมิขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการในการปฏิบัติงานด้านใดเปิดเผยไว้ ณ ที่ทำการของส่วนราชการและระบบเครือข่ายสารสนเทศ


ก. การบริการประชาชน


ข. การติดต่อประสานงานกับส่วนราชการด้วยกัน


ค. การจัดซื้อจัดจ้าง


ง. ก และ ข


จ. ก ข และ ค


30. การจัดตั้งศูนย์บริหารร่วม เป็นหน้าที่ของใคร


ก. หัวหน้าส่วนราชการ


ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ


ค. ปลัดกระทรว


ง. ก และ ข


จ. ข และ ค



31. การปรับปรุง ภารกิจอำนาจหน้าที่โครงสร้างและอัตรากำลังส่วนราชการเป็นไปโดย


ก. ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี


ข. พระราชบัญญัติ


ค. พระราชกฤษฎีกา


ง. กฎกระทรวง


จ. ระเบียบกระทรวง


32. เมื่อมีการยุบเลิก โอน หรือรวมส่วนราชการใดทั้งหมดหรือบางส่วนห้ามมิให้จัดตั้งส่วนราชการที่มีภารกิจและ อำนาจหน้าที่ที่มีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกับส่วนราชการดังกล่าวขึ้นอีกเว้นแต่


ก. มีการเปลี่ยนแปลงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน


ข. มีเหตุผลจำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ


ค. ก และ ข


ง. ก ข และ ค


33. ข้อควรคำนึงถึงที่สำคัญของการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ให้ทันสมัย และเหมาะสมกับ สภาวะการณ์คือ


ก. ความสะดวกรวดเร็ว และลดภาระของประชาชน


ข. การพัฒนาประเทศ


ค. ประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจ


ง. การปฏิบัติตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน


จ. การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน


34. การแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมาย หากส่วนราชการไม่เห็นชอบด้วยกับสำนักงานคณะกรรมการ ให้ เสนอกฤษฎีกา ให้เสนอเรื่องต่อ..........................เพื่อวินิจฉัย


ก. คณะกรรมการร่างกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ


ข. ก.พ.ร.


ค. คณะรัฐมนตรี


ง. รัฐมนตรีผู้รักษาการ


จ. นายกรัฐมนตรี


35. ข้อใดมีอำนาจในการกำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานและงานให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ


ก. ก.พ.ร.


ข. นายกรัฐมนตรี


ค. รัฐมนตรีเจ้าสังกัด


ง. คณะรัฐมนตรี


จ. ก และ ข




36. เมื่อส่วนราชการได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชนเป็นหน้าที่ของส่วนราชการจะต้องตอบ คำถามหรือแจ้งการดำเนินการทราบภายใน..................


ก. 7 วัน


ข. 15 วัน


ค. 15 วัน และสามารถขยายเวลาได้อีก


ง. 30 วัน


จ. 30 วัน และสามารถขยายเวลาได้อีก 30 วัน


37. ส่วนราชการจะต้องจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศในระบบเดียวกันกับหน่วยงานใด


ก. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


ข. ก.พ.ร.


ค. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี


ง. สำนักงบประมาณ


จ. หน่วยงานที่ ก.พ.ร. มอบหมายโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี


38. ส่วนราชการจัดให้มีผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับ


ก. ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ


ข. คุณภาพให้บริการและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ


ค. ความคุ้มค่าในภารกิจ


ง. ข และ ค


จ. ก ข และ ค


39. ข้อใดมิใช่หลักการที่ส่วนราชการใช้ในการประเมินภาพรวมของผู้บังคับในแต่ละระดับ


ก. การประเมินต้องทำเป็นความลับ


ข. การประเมินเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความสามัคคีของข้าราชการ


ค. การประเมินต้องเป็นไปโดยโปร่งใส


ง. ต้องแจ้งวิธีการประเมินให้ผู้ประเมินทราบล่วงหน้า


จ. ค และ ง


40. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับ ก.การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ


ก. การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ


ข. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน


ค. การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน


ง. ข และ ค


จ. ก ข และ ค




41. ข้อใดเป็นหลักเกณฑ์การได้มาซึ่งเงินรางวัลให้แก่ราชการ


ก. ส่วนราชการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด


ข. ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรี จัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็นบำเน็จความชอบแก่ส่วนราชการ


ค. ให้ใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการ


ง. ก และ ข


จ. ก ข และ ค


42. เงินรางวัลเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการได้มาโดย


ก. ส่วนราชการได้ดำเนินงานตามเป้าหมายสามารถเพิ่มผลงานและผลสัมฤทธิ์


ข. ส่วนราชการได้ดำเนินการตามเป้าหมาย


ค. ส่วนราชการได้ดำเนินการตามเป้าหมายสามารถเพิ่มผลงานและผลสัมฤทธิ์โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย


ง. ส่วนราชการได้ดำเนินงานตามแผนการลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วย


จ. ค และ ง






















เฉลยข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร


กิจการบ้านเมืองที่ พ.ศ. 2546



1. 22.


2. 23.


3. 24.


4. 25.


5. 26.


6. 27.


7. 28.


8. 29.


9. 30.


10. 31.


11. 32.


12. 33.


13. 34.


14. 35.


15. 36.


16. 37.


17. 38.


18. 39.


19. 40.


20. 41.


21. 42.