แนวข้อสอบสารบรรณ

1. การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น 3 อย่าง ข้อใดไม่ใช่วิธีการเก็บหนังสือ 1 ใน 3 อย่างดังกล่าว
1 : การเก็บก่อนปฏิบัติ
2 : การเก็บระหว่างปฏิบัติ
3 : การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
4 : การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ

2. ซองหนังสือราชการมีกี่ขนาด
1 : 2
2 : 3
3 : 4
4 : 5

3. ตามที่ได้มีช่อง การปฏิบัติไว้ในทะเบียนรับ-ส่ง หนังสือนั้น เพื่อประโยชน์อะไร
1 : เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นใครเป็นผู้ส่งมา
2 : เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นจะต้องส่งไปที่ไหน
3 : เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นควรจะต้องปฏิบัติอย่างไร
4 : เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นได้มีการปฏิบัติการไปแล้วเพียงใด

4. ข้อใดไม่มีกำหนดไว้ในทะเบียนงานสารบรรณ
1 : ทะเบียนรับ
2 : ทะเบียนจ่าย
3 : ทะเบียนส่ง
4 : ทะเบียนเก็บ

5. (ชื่อส่วนราชการ)
เลขรับ……………………………..
วันที่……………………………….
เวลา……………………………….

คืออะไร
1 : ใบรับหนังสือ
2 : ทะเบียนหนังสือรับ
3 : ตราประทับสำหรับลงรับหนังสือ
4 : ตราประทับสำหรับส่งหนังสือ

6. การเสนอหนังสือที่ดีควรปฏิบัติอย่างไร
1 : ต้องเสนอเรื่องที่ไม่มีปัญหาก่อนเสมอ
2 : ต้องเสนอเรื่องสำคัญก่อนเรื่องอื่นๆ
3 : ต้องแยกเรื่องเสนอเป็นประเภทๆ ไป
4 : ต้องเรียงลำดับเรื่องเสนอก่อน-หลัง ตามวัน เดือน ปี ที่ได้รับ

7. การเสนอหนังสือคืออะไร
1 : การนำหนังสือไปส่งให้ผู้รับ
2 : การส่งหนังสือออกจากส่วนราชการ
3 : การสรุปใจความสำคัญในหนังสือเสนอให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
4 : การนำหนังสือที่ดำเนินการชั้นเจ้าหน้าที่แล้วเสนอต่อผู้บังคับบัญชา




8. เหตุใดจึงต้องให้มีการร่างหนังสือก่อนพิมพ์
1 : ต้องการให้เจ้าของเรื่องได้เห็นต้นร่างก่อน
2 : ต้องการดูว่าใจความจะยาวหรือสั้นเพียงใด
3 : ต้องการให้ผู้ร่างหนังสือมีงานทำและร่างหนังสือด้วยความระมัดระวัง
4 : ต้องการให้มีการตรวจแก้ให้เหมาะสมตามระเบียบแบบแผนก่อน

9. การร่างหนังสือคืออะไร
1 : การพิมพ์หรือเขียนอย่างย่อๆ
2 : การกำหนดโครงร่างหนังสืออย่างคร่าวๆ
3 : การเขียนหนังสือด้วยลายมือของตนเอง
4 : การเรียบเรียงชั้นต้นตามเรื่องที่ต้องการติดต่อ

10. ข้อใดใน 4 ข้อต่อไปนี้ ให้ปฏิบัติเป็นรายการสุดท้ายในการรับหนังสือ
1 : ลงทะเบียนรับหนังสือ
2 : ประทับตรารับหนังสือ
3 : เปิดผนึกซองและตรวจเอกสาร
4 : ส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ

11. ข้อใดอาจช่วยให้หนังสือราชการมีใจความแจ่มชัด
1 : การใช้ภาษาที่ง่าย สั้น แต่ได้ใจความดี
2 : การแยกแยะใจความออกเป็นข้อๆ หรือตอนๆ
3 : การเท้าความถึงเรื่องที่เคยติดต่อกันมา
4 : ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.

12. การร่างหนังสือราชการต้องระวังเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ หลายเรื่อง เรื่องใดต่อไปนี้จำเป็นน้อยมาก
1 : แบบฟอร์ม
2 : ใจความ
3 : วรรคตอน
4 : ตัวสะกดการันต์

13. การเขียนหรือพิมพ์ (หรือประทับตรา) คำว่าด่วน หรือด่วนมาก จะต้องเขียนหรือพิมพ์ (หรือประทับตรา) ไว้ตรงส่วนใดของหนังสือ
1 : ท้ายหนังสือ
2 : ให้เห็นได้ชัด
3 : บนหัวหนังสือ
4 : ตรงไหนก็ได้

14. หนังสือราชการที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติด แบ่งเป็นกี่ประเภท
1 : 4
2 : 3
3 : 2
4 : ประเภทเดียว

15. ข้อความสุดท้ายของรายงานการประชุมควรจะเป็นอะไร
1 : เวลาเลิกประชุม
2 : ผู้จดรายงานการประชุม
3 : ผู้ตรวจรายงานการประชุม
4 : วัน เดือน ปี และสถานที่ประชุม

16. ข้อความที่บันทึกในรายงานการประชุมมักเริ่มต้นด้วยอะไร
1 : ประธานกล่าวเปิดประชุม
2 : บอกเรื่องที่จะประชุม
3 : การรับรองรายงานการประชุมครั้งก่อน
4 : การอ่านรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

17. การเก็บหนังสือราชการปกติจะต้องเก็บรักษาไว้กี่ปี
1 : 5 ปี
2 : 10 ปี
3 : 15 ปี
4 : 20 ปี

18. การจ่าหน้าซองหนังสือราชการ ให้พิจารณาว่าข้อความที่กล่าวในแต่ละข้อนั้น หากจะเขียนหรือพิมพ์ลงบนหน้าซองจะต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงส่วนใดของซอง "ด่วนมาก"
1 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านบนซ้าย
2 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางด้านบน
3 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านล่างซ้าย
4 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางซอง

19. การจ่าหน้าซองหนังสือราชการ ให้พิจารณาว่าข้อความที่กล่าวในแต่ละข้อนั้น หากจะเขียนหรือพิมพ์ลงบนหน้าซองจะต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงส่วนใดของซอง "ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง"
1 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านบนซ้าย
2 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางด้านบน
3 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านล่างซ้าย
4 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางซอง

20. การจ่าหน้าซองหนังสือราชการ ให้พิจารณาว่าข้อความที่กล่าวในแต่ละข้อนั้น หากจะเขียนหรือพิมพ์ลงบนหน้าซองจะต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงส่วนใดของซอง "คำขึ้นต้น ชื่อผู้รับ"
1 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านบนซ้าย
2 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางด้านบน
3 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านล่างซ้าย
4 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางซอง

21. การจ่าหน้าซองหนังสือราชการ ให้พิจารณาว่าข้อความที่กล่าวในแต่ละข้อนั้น หากจะเขียนหรือพิมพ์ลงบนหน้าซองจะต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงส่วนใดของซอง "เลขที่หนังสือออก"
1 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านบนซ้าย
2 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางด้านบน
3 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านล่างซ้าย
4 : ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางซอง

22. การพิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่องนั้น ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหน
1 : มุมกระดาษด้านล่างขวา
2 : กลางหน้ากระดาษด้านบนขวา
3 : ใต้ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
4 : ตรงไหนก็ได้




23. หนังสือราชการที่เป็นต้นฉบับ (ตัวจริง) จะมีรูปครุฑไว้ตรงส่วนใดของหนังสือ
1 : ด้านบนขวา
2 : ด้านล่างซ้าย
3 : กลางหน้ากระดาษด้านบนสุด
4 : ตรงส่วนใดก็ได้ขอให้เห็นเด่นชัด

24. การพิมพ์ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องที่ออกหนังสือให้พิมพ์ไว้ส่วนใดของหนังสือราชการ
1 : ริมกระดาษด้านบนขวา
2 : ริมกระดาษด้านบนซ้าย
3 : ริมกระดาษด้านล่างซ้าย
4 : กลางหน้ากระดาษด้านบนสุด

25. การเซ็นชื่อรับรองสำเนาหนังสือ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับใดขึ้นไปเป็นผู้ลงนามรับรองที่ชอบด้วย ระเบียบงานสารบรรณ
1 : ระดับ 2
2 : ระดับ 3
3 : ระดับ 4
4 : ระดับ 5

26. หนังสือต่อไปนี้ มีหนังสือประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป
1 : หนังสือที่เกี่ยวกับความลับ
2 : หนังสือที่มีหลักฐานการโต้ตอบ
3 : หนังสือที่เกี่ยวกับสถิติ หลักฐาน
4 : หนังสือสำนวนการสอบสวน

27. ตามระเบียบงานสารบรรณ หนังสือราชการที่จัดทำขึ้นจะต้องทำ……..อย่างน้อย 1 ฉบับ
1 : สำเนาต้นฉบับ
2 : สำเนาคู่ฉบับ
3 : สำเนาซ้ำฉบับ
4 : ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค.
28. หนังสือราชการที่มีคำว่า "ด่วน"ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1 : ปฏิบัติเร็วที่สุด
2 : ปฏิบัติโดยเร็ว
3 : ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้
4 : ปฏิบัติเร็วตามกำหนดเวลา

29. หนังสือประทับตรา ผู้ใดมีอำนาจในการลงชื่อกำกับ
1 : เจ้าหน้าที่ระดับ 2 ขึ้นไป
2 : หัวหน้าแผนก
3 : หัวหน้าฝ่าย
4 : หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย

30. รายงานการประชุมจัดอยู่ในหนังสือราชการชนิดใด
1 : หนังสือภายใน
2 : หนังสือสั่งการ
3 : หนังสือประชาสัมพันธ์
4 : หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ

31. หนังสือประทับตราจะมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะส่งออกได้ จะต้อง
1 : ประทับตราให้ถูกที่สุด
2 : ระบุตัวผู้รับให้ชัดเจน
3 : มีคำว่าหนังสือประทับตรา
4 : มีผู้ลงชื่อกำกับตราที่ประทับตามระเบียบ




32. วันเดือน ปี ที่ออกหนังสือในหนังสือประทับตรา ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหนในหนังสือ
1 : ใต้รูปครุฑ
2 : ได้ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก
3 : ไม่มีการลงวัน เดือนปี ในหนังสือชนิดนี้
4 : ผิดทุกข้อ

33. หนังสือราชการที่มีคำว่าด่วนมากผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
1 : ปฏิบัติตามกำหนดเวลา
2 : ปฏิบัติโดยเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้
3 : ปฏิบัติโดยเร็ว
4 : ปฏิบัติทันที

34. บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบทั่วกัน
1 : แถลงการณ์
2 : ข้อบังคับ
3 : คำสั่ง
4 : ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค.

35. บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
1 : แถลงการณ์
2 : ข้อบังคับ
3 : คำสั่ง
4 : ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค.

36. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ หรือเหตุการณ์ หรือกรณีใดๆ ให้ทราบชัดเจน
1 : แถลงการณ์
2 : ข้อบังคับ
3 : คำสั่ง
4 : ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค.

37. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย
1 : แถลงการณ์
2 : ข้อบังคับ
3 : คำสั่ง
4 : ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค.

38. แถลงการณ์ เป็นหนังสือประเภทใด
1 : ประทับตรา
2 : สั่งการ
3 : ประชาสัมพันธ์
4 : เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้น

39. หนังสือประทับตราใช้กระดาษชนิดใด
1 : ใช้กระดาษตราครุฑ
2 : ใช้กระดาษบันทึก
3 : ใช้ประดาษอัดสำเนา
4 : ไม่มีข้อกำหนดแน่นอน

40. ข้อใดเป็นลักษณะของหนังสือภายใน
1 : หนังสือที่ส่งไปโดยไม่บรรจุซอง
2 : หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการต่างกระทรวง
3 : หนังสือติดต่อระหว่างบุคคลภายนอกด้วยกัน
4 : ไม่มีข้อถูก








41. หนังสือทีใช้ประทับตราใช้ในกรณีใดบ้าง
1 : ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม
2 : การเตือนเรื่องที่ค้าง
3 : ส่งสิ่งของ เอกสาร สำเนา
4 : ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.

42. หนังสือภายนอกกับหนังสือภายในต่างกันในข้อใด
1 : แบบฟอร์ม
2 : การเก็บหนังสือ
3 : ผู้ส่งและผู้รับ
4 : การลงทะเบียนรับ-ส่ง

43. หนังสือภายในเป็นหนังสืออย่างไร
1 : ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน
2 : ติดต่อภายในกรมเดียวกัน
3 : ติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน
4 : ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.

44. ข้อใดต่อไปนี้อาจไม่มีในหนังสือราชการ
1 : เรื่อง
2 : วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ
3 : คำขึ้นต้นและคำลงท้าย
4 : อ้างถึงและสิ่งที่ส่งมาด้วย




45. หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงบุคคลภายนอก จัดเป็นหนังสือประเภทใด
1 : หนังสือภายนอก
2 : หนังสือภายใน
3 : หนังสือประทับตรา
4 : หนังสือประชาสัมพันธ์

46. ลักษณะในข้อใดที่เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานสารบรรณ
1 : มีความรู้ภาษาไทย
2 : มีความสุขุม ละเอียด รอบคอบ
3 : ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง
4 : ถูกทั้ง ก. ข. และ ค. ประกอบกัน

47. งานสารบรรณมีประโยชน์ต่อราชการอย่างไร
1 : ทำให้งานสะดวก รวดเร็ว
2 : ประหยัดแรงงานและเวลา
3 : ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูง
4 : ถูกทุกข้อ

48. หนังสือราชการคืออะไร
1 : เอกสารทุกชนิดที่พิมพ์ถูกต้องตามกฎหมาย
2 : เอกสารที่เป็นหลักฐานในทางราชการ
3 : เอกสารที่มีไปถึงผู้ดำรงตำแหน่งในราชการ
4 : เอกสารที่ทางราชการเป็นเจ้าของ

49. ระเบียบงานสารบรรณที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด
1 : 1 มิถุนายน 2516
2 : 1 มิถุนายน 2526
3 : 1 ตุลาคม 2526
4 : 1 ธันวาคม 2527

50. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คำว่า "งานสารบรรณ" ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร
1 : งานรับ-ส่งและเก็บรักษาหนังสือ
2 : งานร่าง-เขียนและพิมพ์หนังสือ
3 : งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร
4 : งานที่เกี่ยวกับงานทะเบียนเอกสาร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น